วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความวิชาการ


ลักษณะของวรรณคดี


"วรรณคดี" ปรากฏใช้เป็นทางการเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งวรรณคดีสโมสร เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตามความในพระราชกฤษฎีกาได้แบ่งวรรณคดีออกเป็น ๕ ประเภท คือ
๑. กวีนิพนธ์ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน
๒. ละครไทย คือ เรื่องที่แต่งเป็นกลอนแปด
๓. นิทาน คือ เรื่องราวอันผูกขึ้นและแต่งเป็นร้อยแก้ว
๔. ละครพูด คือ เรื่องราวที่เขียนขึ้นสำหรับใช้แสดงบนเวที
๕. อธิบาย คือ การแสดงด้วยศิลปวิทยาหรือกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง (แต่ไม่ใช่แบบเรียนหรือตำราเรียน หรือความเรียงเรื่องโบราณคดี มีพงศาวดาร เป็นต้น) ให้นับว่าเป็นหนังสือที่ควรพิจารณาในวรรณคดีสโมสรตามพระราชกฤษฎีกานี้

ลักษณะของวรรณคดี มีกำหนดในพระราชกฤษฏีกา ดังนี้
๑. เป็นหนังสือดี กล่าวคือ เป็นเรื่องราวที่เหมาะสมซึ่งสาธารณชนจะได้อ่านโดย ไม่เสียประโยชน์คือไม่เป็นเรื่องทุภาษิตหรือเป็นเรื่องที่ชักจูงความคิดผู้อ่านไปในทางอันไม่เป็น แก่นสาร
๒. เป็นหนังสือแต่งดี ใช้วิธีเรียงเรียงอย่างใดอย่างใดก็ตาม แต่ต้องเป็นภาษาไทยอันดี ถูกต้องตามเยี่ยงอย่างที่ใช้ในโบราณกาล หรือในปัจจุบันกาล ก็ได้ ไม่ใช่ภาษาซึ่งเลียนภาษาต่างประเทศ คณะกรรมการการวรรณคดีสโมสรได้พิจารณาวรรณคดีว่าเรื่องใดเป็นยอดแห่ง วรรณคดี เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๗ ดังนี้

๑. กวีนิพนธ์ ได้แก่
๑.๑ ลิลิตพระลอ เป็นยอดของลิลิต
๑.๒ สมุทรโฆษคำฉันท์ เป็นยอดของคำฉันท์
๑.๓ เทศน์มหาชาติ เป็นยอดของกาพย์กลอน
๑.๔ เสภาขุนช้างขุนแผน เป็นยอดของกลอนสุภาพ
๒. บทละคร บทละครเรื่องอิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ เป็นยอดของบทละครรำ
๓. บทละครพูด บทละครพูดเรื่องหัวใจนักรบพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๖ เป็น ยอดของบทละครพูด
๔. นิทาน เรื่องสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นยอดของความเรียงเรื่อง นิทาน อธิบาย เรื่องพระราชพิธี ๑๒เดือนพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่
๕เป็นยอดของความเรียงอธิบาย
ประเภทของวรรณคดี
วรรณคดีมีการจำแนกได้หลายลักษณะ ดังนี้
๑. จำแนกตามลักษณะของคำประพันธ์ ได้ ๒ประเภท คือ
๑.๑ ร้อยแก้ว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยแก้ว
๑.๒ ร้อยกรอง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร้อยกรอง
๒. จำแนกตามลักษณะการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
๒.๑ วรรณคดีที่ไม่ได้จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นวรรณคดีที่เล่าต่อ ๆ กันมา อย่างที่เรียกว่า "วรรณคดีมุขปาฐะ"
๒.๒ วรรณคดีที่จารึกเป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ วรรณคดีที่มีการจารึกเป็นหลักฐานแน่นอน
๓. จำแนกตามวัตถุประสงค์ ได้ ๒ประเภท คือ
๓.๑ วรรณคดีแท้ หรือวรรณคดีบริสุทธิ์ เป็นวรรณคดี ที่มุ่งให้ผู้อ่าน เกิดความเพลิดเพลินเป็นใหญ่ เป็นวรรณคดีที่เกิดจากอารมณ์สะเทือนใจของผู้แต่ง
๓.๒ วรรณคดีประยุกต์ เป็นวรรณคดีที่ผู้แต่ง แต่งขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายนอกเหนือ ไปจากความเพลิดเพลิน แต่งขึ้นเพื่อมุ่งประโยชน์อย่างอื่น เช่น บันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ
๔. จำแนกตามลักษณะเนื้อเรื่อง ได้ ๕ ประเภท คือ
๔.๑ วรรณคดีการละครหรือนาฏการ
๔.๒ วรร ณคดีเกี่ยวกับศาสนาและคำสอน
๔.๓ วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี หรือพิธีการ
๔.๔ วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ หรือวรรณคดีทางประวัติศาสตร์
๔.๕ วรรณคดีเกี่ยวกับอารมณ์ ได้แก่ วรรณคดีนิราศเรื่องต่าง ๆ
การแบ่งยุควรรณคดี
การแบ่งยุควรรณคดีนิยมแบ่ง ดังนี้
๑. วรรณคดีสมัยสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐-๑๙๒๐ (๒๐ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างกรุงสุโขทัยใยสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์
๒. วรรณคดีสมัยอยุธยา ในสมัยนี้แบ่งได้ ๓ ระยะ คือ
๒.๑ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนต้น เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๓-๒๐๗๒ (๑๗๙ ปี)
๒.๒ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง เริ่มตั้งแต่ เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๕๓-๒๒๓๑ (๗๘ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมเด็จพระนาราย์มหาราช (หลังจากนั้นวรรณคดีได้ว่างเว้นไป ๔๕ ปี)
๒.๓ วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๒๗๕-๒๓๑๐ (๓๕ ปี) โดยเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒
๓. วรรณคดีสมัยกรุงธนบุรี เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๑๐-๒๓๒๕ (๑๕ ปี)
๔. วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกตามพัฒนาการของวรรณกรรมได้ ๒ ระยะ คือ
๔.๑ วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๔๙ โดยเริ่ม ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงสมัยพร ะ บาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
๔.๒ วรรณคดีสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน (สมัยรับอิทธิพลตะวันตก) เริ่มตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๔-ปัจจุบัน โดยเริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงสมัยปัจจุบัน

วันจันทร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2552

ล่องแก่งหินเพลิงจังหวัดปราจีนบุรี



ข้อมูลทั่วไป ตั้งอยู่ที่ตำบลสะพานหิน อำเภอนาดี เป็นแก่งหินขนาดใหญ่ที่สวยงามอยู่ในลำน้ำใสใหญ่ อยู่ในเขตความรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ที่ 9 อำเภอนาดี เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงที่เหมาะแก่การล่องเรือยางที่ท้าทาย และสนุกสนาน ในช่วงฤดูฝนราวเดือน กรกฎาคม-พฤศจิกายน เป็นช่วงที่มีปริมาณน้ำหลาก ล้นแก่ง และไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ เหมาะสำหรับการล่องแก่งหินเพิง หากพ้นช่วงฤดูฝนไปแล้วแก่งหินเพิงนี้จะกลายเป็นลานโขดหินกว้างใหญ่ การล่องแก่งหินเพิงจะผ่านแก่งต่าง ๆ ได้แก่ แก่งหินเพิง แก่งวังหนามล้อม แก่งวังบอน แก่งลูกเสือ แก่งวังไทร แก่งงูเห่า ใช้ระยะเวลาในการล่องแก่งประมาณ 45 นาที นักท่องเที่ยวสามารถติดต่อ บริษัทนำเที่ยวที่จัดกิจกรรมในการล่องแก่งหินเพิง และสามารถพักค้างแรมแบบแค้มปิ้ง หรือพักรีสอร์ทในเขตอำเภอนาดีได้ สถานที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ป่า ขญ.9 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี

ลักษณะของสายน้ำแก่งหินเพิง เป็นแก่งหินตอนปลายสุดของแม่น้ำใสใหญ่ ซึ่งมีลักษณะทางธรณีวิทยาเป็นชั้นหินทราย ครั้นเมื่อถึงฤดูฝนกระแสน้ำจะไหลหลากอย่างรุนแรงจนทำให้เกิดเกาะแก่งต่าง ๆ มากมาย แก่งหินเพิงเป็นที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชอบความท้าทายกับสายน้ำอันเชี่ยวกราก โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคมกระแสน้ำบริเวณแก่งหินเพิงจะไหลรุนแรงมาก
ระยะเวลาในการล่องล่องได้เฉพาะช่วงฤดูฝนเท่านั้น จากแก่งหินเพิงเป็นจุดเริ่มต้นในการล่องถึงแก่งงูเห่าแก่งสุดท้าย ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ความตื่นเต้น ท้าทายการล่องแก่งสายนี้จุดเด่นอยู่ที่ตัวอก่งหินเพิงอันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่องแก่ง เมื่อถึงฤดูฝนตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ตุลาคม กระแสน้ำจะไหลหลากอย่างรุนแรงก่อให้เกิดเกาะแก่งมากมาย ตัวแก่งหินเพิงมีลักษณะเป็นลานหินหักเทลื่นลงมาจนเกิดเป็นกระแสน้ำวนและเชี่ยวกราก ต้องใช้ความสามารถและทักษะในการพายเป็นอย่างยิ่ง จากจุดเริ่มต้นเหนือแก่งหินเพิงลงมาจะผ่านแก่งวังบอน บริเวณนี้จะมีโขดหินสองฝั่งขวางกระแสน้ำอยู่บีบให้กระแสน้ำเข้าหากับเป็นรูปตัววี และถ้าผ่านแก่งวังบอนมาได้ กระแสน้ำหลังแก่งวังบอนจะไหลย้อนทิศทางตรงนี้สามารถพักเรือบริเวณนี้ได้ ล่องเรือต่อมาจะพบกับแก่งลูกเสือ ซึ่งมีความสนุกสนานเร้าใจไม่แพ้แก่งหินเพิง และผ่านไปจนถึงแก่งวังไทร และแก่งงูเห่า ซึ่งเป็นแก่งสุดท้ายของการล่องแก่งสายน้ำช่วงนี้แก่งวังไทรจะมีลักษณะเป็นคลื่นใหญ่ม้วนตัวขึ้นเป็นวง สร้างความตื่นเต้นเร้าใจได้พอสมควร
การเดินทาง การเดินทางไปแก่งหินเพิง นักท่องเที่ยวสามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3452 โดยเริ่มจากตัวเมือง ปราจีนบุรี (ปราจีนบุรี-ประจันตคาม) ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร มาตัดกับทางหลวงหมายเลข 33 แล้วเลี้ยว ขวาตรงไปทางอำเภอกบินทร์บุรี ก่อนถึงอำเภอกบินทร์บุรีจะมีทางสามแยก ให้ตรงไปอีกเล็กน้อยจะเห็นปั๊มน้ำมัน ปตท. และโรงเรียนวัดสระคู่ จะมีถนนเล็ก ๆ ที่ติดกับโรงเรียน จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร
การเดินทางต่อไปยังแก่งหินเพิงนั้นมี 2 ทางด้วยกัน คือ เมื่อถึงสามแยกบริเวณที่บอกว่าแก่งหินเพิง 7 กิโลเมตรแล้ว ให้เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางสายเก่าไม่ไกลนัก ก็จะถึงริมน้ำแล้วข้ามฟากไปอีกฝั่งหนึ่ง แต่ถ้าหากจะไปทางเส้นทางสายใหม่ เพื่อพบป้ายแก่งหินเพิง 7 กิโลเมตรแล้ว ให้เลี้ยวขวาแล้วจะพบสี่แยกแรกแล้วเลี้ยวซ้ายไป ตามเส้นทางผ่านหมู่บ้านข้ามลำธารแล้วไปสิ้นสุดการเดินทางที่หน่วยพิทักษ์ป่าขญ. 9 หลังจากนั้นให้เดินไปตามเส้นทางเดินป่าอีก 2 กิโลเมตร ก็จะถึงแก่งหินเพิง
ที่พัก
โรงแรมกบินทร์อินเตอร์ 100 หมู่ 2 ต. เมืองเก่า จำนวน 21 ห้อง ราคา 250-1,200 บาท โทร. (037) 281450
กบินทร์บุรีโฮเต็ง 63/1-9 หมู่ 16 ต. เมืองเก่า จำนวน 45 ห้อง ราคา 150-400 บาท
โรงแรมพรหมเจริญ 13 ในเขตเทศบาล จำนวน 22 ห้อง ราคา 60 บาท โทร. (037) 281560
โรงแรมศิริมงคล 78 ในเขตเทศบาล จำนวน 59 ห้อง ราคา 120-200 บาท โทร. (037) 281095
เฟื่องฟ้าบังกะโล 35 หมู่ 3 ต. ประจันตคาม จำนวน 33 ห้อง ราคา 300-500 บาท โทร. (037) 291480
โรงแรมศรีกบินทร์ 128 หมู่ 8 ต. เมืองเก่า จำนวน 55 ห้อง ราคา 200-400 บาท โทร. (037) 281375








วันจันทร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2552

แนะนำตัว

ชื่อ นันทนิตย์ ยาจันทรา
ชื่อเล่น กุ๊กกิ๊ก
เกิดวันที่ 19 มกราคม 2531
เด็กปราจีนบุรี
ศึกษาระดับปริญญาตรีที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์
คณะครุศาสตร์
โปรแกรมวิชาภาษาไทย (ปี2แล้ว)
สิ่งที่ชอบ ร้องเพลง
คติ ไม่สูงต้องแขย่ง ไม่เก่งต้องขยัน